ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ดำรง เหรียญประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย และประธานคณะกรรมการจัดงาน 70 ปี ของการสถาปนาสำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย กล่าวถึง รายละเอียดในงานดังนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ช่วงเช้ามีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “อาสา…ก้าวหน้า ก้าวไกล” โดย ศาสตราภิชาน นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และเวลา 10.30 น. ขอเชิญเฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นองค์ประธานในงาน “70 ปี ของการสถาปนาสำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย” และประทานโล่เชิดชูเกียรติอาสากาชาดผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกิจการต่างๆ ของสภากาชาดไทย นอกจากนี้ มีการจัดแสดงนิทรรศการโครงการต่างๆ ที่พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือสังคมตลอดระยะเวลา 70 ปี ของสำนักงานอาสากาชาดแล้ว ยังให้บริการตรวจสุขภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำนายโชคชะตาราศี ประมูลของรักของหวงคนดัง จับสลากรางวัล และการจำหน่ายสินค้าในราคาถูกอีกด้วย
สภากาชาดไทย เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนโดยยึดหลักการปฏิบัติงานตามหลักกาชาดสากล คือ มีความเป็นกลาง ไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ลัทธิศาสนา หรืออุดมการณ์ทางการเมือง เป็นการปฏิบัติงานเพื่อมนุษยธรรม สร้างความมั่นคงให้กับผู้ด้อยโอกาส ทั้งในยามสงครามและยามปกติ และยังมีหลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทำงานด้วยความเสียสละ ทั้งเวลา กำลังกาย และกำลังปัญญา ของอาสาสมัครที่เรียกว่า อาสากาชาด นับตั้งแต่ที่สภากาชาดไทยได้ก่อกำเนิดขึ้น จวบจนปัจจุบันรวมระยะเวลา 117 ปี ที่ได้ดำเนินงานตามหลักการที่กล่าวข้างต้น และได้ก่อตั้งหน่วยงานอาสาสมัครที่เรียกว่า กองอาสากาชาด ขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 จนต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานอาสากาชาด ในปี 2539 และได้ครบรอบ 70 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 โครงการต่างๆ ที่สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ อาทิ โครงการอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย อาทิ บ้านประกอบสำเร็จ ชั่วคราวต้นแบบเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ที่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวให้ผู้ประสบภัยได้ทั่วประเทศ
โครงการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบอุทกภัยต้นแบบเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้ประสบภัยทำเกษตรกรรม ผลิตอาหารและลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ภายใน 45 วัน และเมื่อมีการประสบภัยอื่นยังสามารถพึ่งพาตนเองให้ฟื้นฟูสู่สภาพปกติ ได้ด้วยตนเอง โครงการอาสากาชาดฟื้นฟูสุขภาพถึงบ้าน ช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลให้สามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น ด้วยการติดตามไปรักษาต่อถึงบ้าน โครงการโรงเรียนต้นแบบมาตรฐานระบบการต้านยาเสพติด สร้างเกราะป้องกันเด็กนักเรียนไม่ให้ติดยาเสพติด ซึ่งได้ริเริ่ม “โครงการเพื่อนเตือนเพื่อน” จนขยายขอบข่ายมากขึ้น และจัดตั้ง “โครงการอาสากาชาดนักเรียนแกนนำต้านภัยยาเสพติด” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2544 และปัจจุบันได้มีการจัดทำ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนากิจกรรมคุณภาพต้านยาเสพติด โดยมีโครงการย่อยสนับสนุนหลายโครงการ เพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน อีกทั้งยังขยายเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันเยาวชนของชาติไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของยาเสพติด อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต
ผู้ที่สนใจงานอาสาสมัคร ต้องการช่วยเหลืองานของสภากาชาดไทย สามารถสมัครเป็นอาสากาชาดภายในงานได้อีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 0-2256-4427-9 และ 0-2256-4290
วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เชิญชวนบริจาคดวงตา เป็นกุศล ในโอกาส 45 ปี ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย จะจัดพิธีบำเพ็ญกุศล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้อุทิศดวงตาที่ถึงแก่กรรม เนื่องในวันศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ประจำปี 2553 โดยมี นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีฯ ในวันอาทิตย์ ที่ 15 สิงหาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ อาคารแพทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้จัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลนี้ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้เป็นปีที่ 45 ซึ่ง ผศ.พญ.ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตาฯ จะสรุปรายงานการดำเนินงานปี พ.ศ. 2552 และมีการอ่านประกาศรายนามผู้อุทิศดวงตาที่ถึงแก่กรรมและศูนย์ดวงตาฯ ได้นำไปใช้ประโยชน์แล้วเพื่อเป็นการเชิดชูและประกาศเกียรติคุณ และภายในงานยังมีการรับบริจาคดวงตาสำหรับผู้มีจิตศรัทธาอีกด้วย
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้จัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลนี้ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้เป็นปีที่ 45 ซึ่ง ผศ.พญ.ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตาฯ จะสรุปรายงานการดำเนินงานปี พ.ศ. 2552 และมีการอ่านประกาศรายนามผู้อุทิศดวงตาที่ถึงแก่กรรมและศูนย์ดวงตาฯ ได้นำไปใช้ประโยชน์แล้วเพื่อเป็นการเชิดชูและประกาศเกียรติคุณ และภายในงานยังมีการรับบริจาคดวงตาสำหรับผู้มีจิตศรัทธาอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)